วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์การพัฒนา
” เป็นเลิศด้านบริการ สืบสานประเพณีวัฒนธรรม
แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปฏิบัติตามหลักธรรมมาภิบาล มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง “
พันธกิจของการพัฒนาเทศบาลตำบลนกออก (Mission)
1. พัฒนาการจัดการศึกษา การกีฬา สาธารณสุข และสังคมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีชุมชนเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
2. ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา และภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในชุมชน
4. เสริมสร้างศักยภาพความเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว และส่งเสริมให้ประชาชนมีฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปการ สาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐาน และครอบคลุมพื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต
6. พัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
7. พัฒนาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารตำบลแบบบูรณาการ
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา ของเทศบาลตำบลนกออก (Goals)
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลนกออก ที่จะดำเนินการในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนานี้ได้กำหนดให้สอดคล้องกับพันธกิจ หรือภารกิจหลัก มี 20 จุดมุ่งหมาย ดังนี้
1. ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี ได้รับบริการด้านการสาธารณสุขโดยทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
2. ชุมชนมีความเข้มแข็ง ประชาชนได้รับสวัสดิการสังคมอย่างที่ถึง มีคุณภาพชีวิตที่ดีถ้วนหน้า
3. เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ มีแหล่งความรู้ที่ทันสมัยและรู้จักใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง
4. ศิลปะ ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ดำรงอยู่สืบทอดตลอดไป
5. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เกิดความสงบเรียบร้อยภายในชุมชน
6. การคมนาคมขนส่ง มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยทันสมัย ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่ และได้มาตรฐาน
7. บ้านเมืองน่าอยู่และสวยงามเป็นระเบียบ และมีผังเมืองที่ดีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเมือง
8. ประชาชนมีงานทำ มีอาชีพ และมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ
9. สร้างความเข้มแข็งให้ภาคการเกษตรแบบครบวงจรตามแนวทางเกษตรทฤฎีใหม่
10. ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
11. สินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เป็นที่ต้องการของตลาด
12. มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและเป็นที่ดึงดูดใจของนักท่องเที่ยว ส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
13. ประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ มีความเข้าใจอันดีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารและการพัฒนาท้องถิ่นจากทุกภาคส่วน
14. การบริหารด้านการเงิน – การคลัง และการจัดเก็บรายได้ของเทศบาล มีประสิทธิภาพ
15. ประชาชนได้รับบริการที่ดี สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
16. บุคลากรของเทศบาลปฏิบัติงานบนพื้นฐานการมีคุณธรรมจริยธรรมและหลักธรรมาภิบาล
17. ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยของประชาชนเพิ่มมากขึ้น
18. ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้รับการดูแล รักษาอย่างยั่งยืน
19. ประชาชนมีจิตสำนึกดีในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
20. บ้านเมืองน่าอยู่ปราศจากมลภาวะ และสิ่งปฏิกูล ตลอดจนมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม
ยุทธศาสตร์ (STRATEGY)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การสานต่อแนวทางพระราชดำริ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการเกษตร
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านการพัฒนาสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาสาธารณสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 7 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ศาสนา วัฒนธรรมประเพณีและกีฬา
ยุทธศาสตร์ที่ 8 ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
ยุทธศาสตร์ที่ 9 ยุทธศาสตร์ด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ยุทธศาสตร์ที่ 10 ยุทธศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นโยบายภายใต้การบริหารงาน
- ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 มุ่งเน้นการก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ซ่อมแซม ถนน รางระบายน้ำ พร้อมทั้งปรับปรุงระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ทุกพื้นที่ในเขตเทศบาล ถนนทุกสายต้องได้มาตรฐาน การสัญจร ไป – มา สะดวก คล่องตัว ปลอดภัย และปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดแนวถนนทุกสาย โดยการปลูกต้นไม้ จัดสร้างสาธารณูปโภค เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อย่างทั่วถึง
1.2 ปรับปรุงระบบประปา โดยมุ่งเน้นให้มีน้ำประปาที่สะอาด เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ทุกครัวเรือน ปรับปรุงเพิ่มเติมระบบประปาเดิมให้ดีมีมาตรฐาน
1.3 ปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาสวนสาธารณะ ให้ประชาชนออกกำลังกาย เล่นกีฬา และพักผ่อนหย่อนใจ
- ด้านการศึกษา วัฒนธรรม และประเพณี
2.1 ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา ในระดับต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานราชการอื่น ๆ ให้มีการจัดการเรียน การสอน ให้ดียิ่งขึ้น สนับสนุนอุปกรณ์การเรียน การสอน ให้มีคุณภาพ เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน สนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียน ผู้ด้อยโอกาส เยาวชน ในเขตเทศบาลอย่างทั่วถึง เพื่อบรรเทาภาระของผู้ปกครอง
2.2 พัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้สมบูรณ์แบบมีขีดความสามารถทัดเทียมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอื่น
2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนงานประเพณีต่าง ๆ อนุรักษ์และสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น งานประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ประเพณีลอยกระทง ให้มีความยั่งยืน สืบไป
2.4 ส่งเสริม บำรุงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ที่จัดตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์ รูปแบบ เนื้อหาให้เป็นไปตาม
เป้าหมายในการจัดตั้ง คือเก็บรักษาและจัดแสดงจิตสำนึกทางวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ เพื่อเป็นแหล่งศึกษา หาความรู้ แก่สาธารณชน สันทนาการ แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ด้านเศรษฐกิจ
3.1 ส่งเสริมอาชีพ เพิ่มรายได้ของครัวเรือน กลุ่มสตรี โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
3.2 ส่งเสริม สนับสนุน การจัดทำเกษตรกรรม ตามแนวทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช และเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตทางการเกษตร ลดการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิต
3.3 อุดหนุนงบประมาณให้แก่ชุมชนในเขตเทศบาล เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
- ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
4.1 ส่งเสริมรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน รักษาความสะอาด และการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธี
4.2 ดูแลส่งเสริมสุขภาพ พลานามัยของประชาชน ให้สมบูรณ์ แข็งแรง ทุกกลุ่มอายุอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยเน้นการป้องกันมากกว่าการรักษา
4.3 จัดให้มีมาตรการที่รวดเร็ว เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ โรคระบาดทุกชนิด ซึ่งอาจติดต่อได้ภายในเขตพื้นที่เทศบาลตำบล นกออก
4.4 ส่งเสริม อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ดีอยู่แล้วให้คงอยู่ และที่ไม่ดีต้องพัฒนาให้ดีขึ้น จัดสร้างสวนส่งเสริมสุขภาพ เครื่องออกกำลังกาย
- ด้านการกีฬาและนันทนาการ
5.1 ส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาและนันทนาการแก่เด็ก เยาวชน ประชาชน ผู้สูงอายุ เพื่อให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสได้เล่นกีฬาและออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและสมรรถภาพที่ดี มุ่งเน้นการปลูกฝังความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา เกิดความรัก ความสามัคคีในชุมชน
5.2 ปรับปรุงสนามกีฬาเทศบาลตำบลนกออก ให้ได้มาตรฐาน มีอุปกรณ์ในการเล่นอย่างเหมาะสม และเพียงพอ
- ด้านสังคม และสวัสดิการสังคมสงเคราะห์
6.1 ส่งเสริมดูแล สวัสดิการให้กับประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกกลุ่มอายุ เพื่อให้ประชาชนมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถพึ่งตนเองได้ จัดให้มีรถรับ – ส่ง ผู้ป่วยกรณีฉุกเฉินไปโรงพยาบาล
6.2 ส่งเสริมปลูกฝัง ความรู้รักสามัคคีจัดระเบียบชุมชน รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกรูปแบบ
6.3 ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ จะได้รับเบี้ยยังชีพ ตามหลักเกณฑ์นโยบายของรัฐบาลทุกคน และทั่วถึง
6.4 ตอบสนองนโยบายของรัฐบาล และให้ความร่วมมือส่วนราชการต่าง ๆ ตลอดจนรณรงค์สร้างชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้
6.5 จัดให้มีการอบรม สัมมนา ทัศนศึกษาดูนอกสถานที่ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ และประสบการณ์แก่กลุ่มอาชีพ กลุ่มสตรี ผู้นำชุมชน และในการพัฒนาบุคลากรของพนักงานเทศบาล
- ด้านการเมือง การบริหาร
7.1 บริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ โดยยึดหลักการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนกออก
7.2 เสริมสร้าง พัฒนา ศักยภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลนกออก ปรับปรุงสถานที่ทำงาน อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ในการให้บริการประชาชน ให้สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและทั่วถึง
7.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น การจัดทำแผนพัฒนา การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การจัดซื้อ/จัดจ้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
7.4 พัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกระดับ ทั้งผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาเทศบาล ข้าราชการ และพนักงานจ้าง สนับสนุนการศึกษาต่อ ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท การศึกษาอบรม หลักสูตรต่าง ๆ เพื่อรองรับการบริการในแต่ละด้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
7.5 ส่งเสริม สนับสนุน กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการบริหาร ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยในระบอบสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของภาคประชาสังคม
นโยบาย ทั้ง 7 ประการนี้ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ล้วนมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชน และเพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชน ในตำบลนกออก ดังนั้น การดำเนินงานในแต่ละภารกิจ แต่ละโครงการ สามารถเดินหน้าให้เป็นไปตามนโยบายที่มีอยู่ทั้ง 7 ประการ และปัจจัยที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน ที่จะต้องช่วยกันเป็นพลังที่สำคัญในการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง