อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๕๐ เทศบาลตำบลนกออกหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(๑) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(๒) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
(๒/๑) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริม สนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
(๓) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(๔) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
(๕) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
(๖) จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก
(๗) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(๘) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(๙) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
มาตรา ๕๑ เทศบาลตำบลนกออกอาจจัดทำกิจการใดๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(๑) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
(๒) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
(๓) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
(๔) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
(๕) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากิของราษฎร
(๖) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
(๗) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(๘) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
(๙) เทศพาณิชย์
วิสัยทัศน์ (VISION)
การสร้างเป้าหมายในการพัฒนาเทศบาลตำบลนกออกและนำไปสู่กระบวนการรับรู้ร่วมในเป้าหมายของการพัฒนา ดังนั้นจึงได้จัดประชุมประชาคมทั้งระดับชุมชน และตำบล เพื่อร่วมกันกำหนดเป้าหมายการพัฒนาอันพึงประสงค์ในอนาคตของเทศบาล และผลการประชุมได้บทสรุปภาพในอนาคตของเทศบาลตำบลนกออกดังนี้
เป็นเลิศด้านบริการ สืบสานประเพณีวัฒนธรรม
แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
พันธกิจ (MISSION)
1 พัฒนาการจัดการศึกษา การกีฬา สาธารณสุข และสังคมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
2 ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา และภูมิปัญญาท้องถิ่น
3 เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในชุมชน
4 เสริมสร้างศักยภาพความเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว และส่งเสริมให้ประชาชนมีฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5 พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปการ สาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐาน และครอบคลุมพื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต
6 พัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนwrite my project personal narrative essay outline
7 พัฒนาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารตำบลแบบบูรณาการ
นโยบายภายใต้การบริหารงาน
- ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 มุ่งเน้นการก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ซ่อมแซม ถนน รางระบายน้ำ พร้อมทั้งปรับปรุงระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ทุกพื้นที่ในเขตเทศบาล ถนนทุกสายต้องได้มาตรฐาน การสัญจร ไป – มา สะดวก คล่องตัว ปลอดภัย และปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดแนวถนนทุกสาย โดยการปลูกต้นไม้ จัดสร้างสาธารณูปโภค เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อย่างทั่วถึง
1.2 ปรับปรุงระบบประปา โดยมุ่งเน้นให้มีน้ำประปาที่สะอาด เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ทุกครัวเรือน ปรับปรุงเพิ่มเติมระบบประปาเดิมให้ดีมีมาตรฐาน
1.3 ปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาสวนสาธารณะ ให้ประชาชนออกกำลังกาย เล่นกีฬา และพักผ่อนหย่อนใจ
- ด้านการศึกษา วัฒนธรรม และประเพณี
2.1 ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา ในระดับต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานราชการอื่น ๆ ให้มีการจัดการเรียน การสอน ให้ดียิ่งขึ้น สนับสนุนอุปกรณ์การเรียน การสอน ให้มีคุณภาพ เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน สนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียน ผู้ด้อยโอกาส เยาวชน ในเขตเทศบาลอย่างทั่วถึง เพื่อบรรเทาภาระของผู้ปกครอง
2.2 พัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้สมบูรณ์แบบมีขีดความสามารถทัดเทียมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอื่น
2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนงานประเพณีต่าง ๆ อนุรักษ์และสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น งานประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ประเพณีลอยกระทง ให้มีความยั่งยืน สืบไป
2.4 ส่งเสริม บำรุงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ที่จัดตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์ รูปแบบ เนื้อหาให้เป็นไปตาม
เป้าหมายในการจัดตั้ง คือเก็บรักษาและจัดแสดงจิตสำนึกทางวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ เพื่อเป็นแหล่งศึกษา หาความรู้ แก่สาธารณชน สันทนาการ แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ด้านเศรษฐกิจ
3.1 ส่งเสริมอาชีพ เพิ่มรายได้ของครัวเรือน กลุ่มสตรี โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
3.2 ส่งเสริม สนับสนุน การจัดทำเกษตรกรรม ตามแนวทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช และเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตทางการเกษตร ลดการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิต
3.3 อุดหนุนงบประมาณให้แก่ชุมชนในเขตเทศบาล เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
4.1 ส่งเสริมรักษาความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ของชุมชน รักษาความสะอาด และการกำจัดขยะ มูลฝอยอย่างถูกวิธี
4.2 ดูแลส่งเสริมสุขภาพ พลานามัยของประชาชน ให้สมบูรณ์ แข็งแรง ทุกกลุ่มอายุอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยเน้นการป้องกันมากกว่าการรักษา
4.3 จัดให้มีมาตรการที่รวดเร็ว เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ โรคระบาดทุกชนิด ซึ่งอาจติดต่อได้ภายในเขตพื้นที่เทศบาลตำบล นกออก
4.4 ส่งเสริม อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ดีอยู่แล้วให้คงอยู่ และที่ไม่ดีต้องพัฒนาให้ดีขึ้น จัดสร้างสวนส่งเสริมสุขภาพ เครื่องออกกำลังกาย
- ด้านการกีฬาและนันทนาการ
5.1 ส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาและนันทนาการแก่เด็ก เยาวชน ประชาชน ผู้สูงอายุ เพื่อให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสได้เล่นกีฬาและออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและสมรรถภาพที่ดี มุ่งเน้นการปลูกฝังความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา เกิดความรัก ความสามัคคีในชุมชน
5.2 ปรับปรุงสนามกีฬาเทศบาลตำบลนกออก ให้ได้มาตรฐาน มีอุปกรณ์ในการเล่นอย่างเหมาะสม และเพียงพอ
- ด้านสังคม และสวัสดิการสังคมสงเคราะห์
6.1 ส่งเสริมดูแล สวัสดิการให้กับประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกกลุ่มอายุ เพื่อให้ประชาชนมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถพึ่งตนเองได้ จัดให้มีรถรับ – ส่ง ผู้ป่วยกรณีฉุกเฉินไปโรงพยาบาล
6.2 ส่งเสริมปลูกฝัง ความรู้รักสามัคคีจัดระเบียบชุมชน รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกรูปแบบ
6.3 ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ จะได้รับเบี้ยยังชีพ ตามหลักเกณฑ์นโยบายของรัฐบาลทุกคน และทั่วถึง
6.4 ตอบสนองนโยบายของรัฐบาล และให้ความร่วมมือส่วนราชการต่าง ๆ ตลอดจนรณรงค์สร้างชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้
6.5 จัดให้มีการอบรม สัมมนา ทัศนศึกษาดูนอกสถานที่ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ และประสบการณ์แก่กลุ่มอาชีพ กลุ่มสตรี ผู้นำชุมชน และในการพัฒนาบุคลากรของพนักงานเทศบาล
- ด้านการมือง การบริหาร
7.1 บริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ โดยยึดหลักการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนกออก
7.2 เสริมสร้าง พัฒนา ศักยภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลนกออก ปรับปรุงสถานที่ทำงาน อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ในการให้บริการประชาชน ให้สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและทั่วถึง
7.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น การจัดทำแผนพัฒนา การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การจัดซื้อ/จัดจ้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
7.4 พัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกระดับ ทั้งผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาเทศบาล ข้าราชการ และพนักงานจ้าง สนับสนุนการศึกษาต่อ ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท การศึกษาอบรม หลักสูตรต่าง ๆ เพื่อรองรับการบริการในแต่ละด้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
7.5 ส่งเสริม สนับสนุน กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการบริหาร ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยในระบอบสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของภาคประชาสังคม
นโยบาย ทั้ง 7 ประการนี้ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ล้วนมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชน และเพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชน ในตำบลนกออก ดังนั้น การดำเนินงานในแต่ละภารกิจ แต่ละโครงการ สามารถเดินหน้าให้เป็นไปตามนโยบายที่มีอยู่ทั้ง 7 ประการ และปัจจัยที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน ที่จะต้องช่วยกันเป็นพลังที่สำคัญในการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง