ข้อมูลพื้นฐาน
ทรัพยากรน้ำ
พื้นที่แหล่งน้ำของเทศบาลตำบลนกออกส่วนใหญ่จะเป็นลำห้วยขนาดเล็ก และสระน้ำสาธารณะประโยชน์เป็นแหล่งน้ำหลักที่สำคัญ ซึ่งประชาชนได้อาศัย อุปโภค – บริโภค และการเกษตรกรรมได้ใช้น้ำจากลำห้วยธรรมชาติและคลองส่งน้ำชลประทาน สำหรับลำห้วยที่ไหลผ่านพื้นที่เทศบาลตำบลนกออกที่สำคัญมี ๒ สาย คือ ลำพระเพลิง และ ลำสำราย
ปัจจุบันการพัฒนาลุ่มน้ำในเขตเทศบาลตำบลนกออก ทางเทศบาลตำบลนกออกและหน่วยงานที่เป็นส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการเข้ามาดำเนินการ เช่น การขุดลอกลำห้วย การก่อสร้างฝาย การขุดเจาะบ่อบาดาลและบ่อสาธารณะ การพัฒนาดังกล่าวยังไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในปัจจุบัน
ทรัพยากรดิน
สภาพพื้นดินจะมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย การเก็บกักน้ำอยู่ในระดับปานกลางคุณภาพดินมีความสมบูรณ์ต่ำ ยังคงต้องมีการพัฒนาคุณภาพต่อไป ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนกออกส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักการปรับปรุงคุณภาพดิน ต้องให้ความรู้แก่ประชาชนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลักคือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สภาพเศรษฐกิจ
๑. อาชีพประชากรในเขตพื้นที่ตำบลนกออก ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๙๐ ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม เช่น ทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ส่วนที่เหลือมีอาชีพรับจ้าง ค้าขาย และรับราชการ
๒. หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาล
– ธนาคาร | – แห่ง |
– โรงแรม | ๑ แห่ง |
– ปั้มน้ำมันและก๊าซ (ขนาดเล็กและมือหมุน) | ๖ แห่ง |
– โรงงานอุตสาหกรรม | – แห่ง |
– โรงสีข้าว | ๑๐แห่ง |
– โรงงานผลิตอิฐบล็อกเสาปูน | ๑ แห่ง |
สภาพสังคม
๑. การศึกษา | |
– โรงเรียนประถมศึกษา | ๔ แห่ง |
– โรงเรียนมัธยมศึกษา | ๑ แห่ง |
– โรงเรียนอาชีวศึกษา | – แห่ง |
– โรงเรียน / สถาบันชั้นสูง | – แห่ง |
– ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านห้องสมุดประชาชน | ๑๐ แห่ง |
๒. สถาบันและองค์กรศาสนา | |
– วัด / สำนักสงฆ์ | ๖ แห่ง |
– มัสยิด | – แห่ง |
– ศาลเจ้า | – แห่ง |
– โบสถ์ | – แห่ง |
๓. สาธารณสุข | |
– โรงพยาบาลของรัฐขนาด | – แห่ง |
– สถานีอนามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน | ๒ แห่ง |
– สถาบันพยาบาลเอกชน | – แห่ง |
– ร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ศสมช) | ๑๐ แห่ง |
– อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ | ๑๐๐ แห่ง |
๔. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | |
ป้อมตำรวจ (สายตรวจตำบล) | ๑ แห่ง |
จำนวนคดีอาชญากรรม | ๑๔๔ คดี |
แยกเป็น | |
๑. คดีทำร้ายร่างกาย | ๔ คดี |
๒. การพนัน | ๓ คดี |
๓. พกพาอาวุธปืนในที่สาธารณะ | ๖ คดี |
๔. คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง | ๒ คดี |
๕. คดีจราจรทางบก | ๑๐ คดี |
๗. สิ่งเสพติดให้โทษ | ๑ คดี |
สภาพทางโครงการบริการพื้นฐาน
๑.การคมนาคม
การคมนาคมของเทศบาลตำบลนกออก มีถนนสายหลัก อยู่ ๔ สาย เป็นทางลาดยาง คือ
๑. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ (สายนครราชสีมา – กบินทร์บุรี) ตัดผ่าน หมู่ที่ ๗,๘
๒. ถนนเลียบคลองชลประทานสายปักธงชัย – โชคชัย ตัดผ่าน หมู่ที่ ๑,๒,๘,๑๐
๓. ถนน รพช. สายนกออก – หนองปรือ ตัดผ่าน หมู่ที่ ๓,๔,๕,๖,๑๐
๔. ถนนสายทางเข้าปราสาทบ้านปรางค์ ตัดผ่าน หมู่ที่ ๒,๕,๘,๙
ส่วนภายในหมู่บ้านจะเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนหินคลุก และถนนลูกรัง
๒. การโทรคมนาคม
– ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข | – แห่ง |
– สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ | – แห่ง |
– ตู้โทรศัพท์สาธารณะ | ๖ แห่ง |
๓. การไฟฟ้า
ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนกออก มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้านแสดงจำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า อัตราร้อยละ ๑๐๐
๔. แหล่งน้ำ
มีลำน้ำ ลำคลอง ลำห้วย จำนวน ๖ สาย
๑. คลองลำพระเพลิง ไหลผ่าน หมู่ที่ ๑ , ๒ , ๕ , ๖ , ๘ , ๙ , ๑๐ ยาว ๑๑,๕๐๐ เมตร กว้าง ๒๐ เมตร ลึก ๓ เมตร มีน้ำ ๒.๕ เมตร ปริมาตรน้ำ ๕๗๒,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร
๒. คลองลำสำราย ไหลผ่าน หมู่ที่ ๑, ๒ , ๗ , ๑๐ ยาว ๗,๙๐๐ เมตร กว้าง ๑๔ เมตร ลึก ๒.๕ เมตร มีน้ำ ๒ เมตร ปริมาตรน้ำ ๑๒๑,๘๐๐ ลูกบาศก์เมตร
๓. คลองบุโกรก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ยาว ๑,๖๐๐ เมตร กว้าง ๑๒ เมตร ลึก ๑.๕ เมตร มีน้ำ ๑ เมตร ปริมาตรน้ำ ๑๙,๒๐๐ ลูกบาศก์เมตร
๔. คลองพระ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ยาว ๒,๔๕๐ เมตร กว้าง ๘ เมตร ลึก ๓ เมตร มีน้ำ ๒ เมตร ปริมาตรน้ำ ๓๙,๒๐๐ ลูกบาศก์เมตร
๕. คลองกลางบ้าน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ยาว ๘๐๐ เมตร กว้าง ๑๐ เมตร ลึก ๒.๕ เมตร มีน้ำ ๑.๕ เมตร ปริมาตรน้ำ ๑๒,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร
๖. คลองยาง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๐ ยาว ๑,๓๐๐ เมตร กว้าง ๘ เมตร ลึก ๓ เมตร มีน้ำ ๒.๕ เมตร ปริมาตรน้ำ ๒๖,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร
๗. คลองชลประทาน จากเขื่อนลำพระเพลิงไหลผ่านทางตอนเหนือของตำบล ๑ สาย
๕. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
ฝายกั้นน้ำ จำนวน ๔ แห่ง
๑. คลองลำพระเพลิง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ยาว ๒๐ เมตร สูง ๒ เมตร ๑ ตัว
๒. คลองลำพระเพลิง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ยาว ๒๐ เมตร สูง ๒ เมตร ๒ ตัว
๓. คลองลำพระเพลิง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ ยาว ๑๔ เมตร สูง ๑ เมตร ๑ ตัว
– สระน้ำ | ๗๒ แห่ง |
– บ่อน้ำตื้น | ๓๘ แห่ง |
– บ่อโยก | ๙๙ แห่ง |
– ประปาหมู่บ้าน | ๘ แห่ง |
– บ่อน้ำที่ประชาชนขุดใช้ | ๑๐ แห่ง |
– ประปาภูมิภาค | ๑ แห่ง |
ข้อมูลอื่น ๆ
๑. ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
– ป่าไม้
– ที่สาธารณะประโยชน์ ๒๐๘ ไร่ ๒ งาน
๒. มวลชนจัดตั้ง
– ลูกเสือชาวบ้าน | ๓ รุ่น | ๒๐๐ คน |
– ไทยอาสาป้องกันชาติ | – รุ่น | – คน |
– อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน | ๒ รุ่น | ๑๒๔ คน |
– กรรมการหมู่บ้าน | ๑๐๐ คน | |
– กลุ่ม อสม. | ๑๐๐ คน | |
– กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง | ๑๕ คน | |
– กลุ่มเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าวนาปี | ๑๐๐ คน | |
– กลุ่มออมทรัพย์ประจำหมู่บ้าน | ๕๐๐ คน |